ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เกิดขึ้นได้เป็นปกติในหมู่ผู้ที่มีปัญหานอนกรน โดยสาเหตุส่วนใหญ่ เพราะอากาศหมุนเวียนเข้าสู่ปอดได้น้อย จนถึงขั้นไม่มีอากาศภายในปอดเลยเป็นระยะเวลานานถึง 10 วินาที โดยปัญหาที่ตามมาคือ ออกซิเจนในเลือดต่ำลง ในขณะที่ก๊าซคาบอนไดออกไซด์ในเลือดสูงขึ้น  โดยส่วนใหญ่มักพบในหมู่ผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และในกลุ่มที่สูงอายุหรือน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน นับได้ว่าเป็นโรคที่อันตรายโรคหนึ่งที่ควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน คนใกล้ชิดที่นอนด้วยกันควรเป็นหูเป็นตา ช่วยกันสังเกตอาการที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้รับการรักษาที่ทันท่วงที

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ชนิดอุดกั้น Obstructive sleep apnea (OSA) เป็นความผิดปกติที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจมากจนกระทั่งทำให้เกิดหยุดหายใจขณะหลับใจเป็นช่วงๆ ขณะนอนหลับ

2. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ชนิดสมองส่วนกลาง Central sleep apnea (CSA) เป็นความผิดปกติจากสมองส่วนกลางของคุณไม่ส่งสัญญาณไปยังกล้ามเนื้อที่ควบคุมการหายใจ ให้เหมาะสม หรือจากผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่กดสมองส่วนกลางไว้ ทำให้หยุดหายใจขณะหลับ เช่น ยานอนหลับ

3. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ชนิดซับซ้อน Complex sleep apnea syndrome เป็นความผิดปกติที่ผสมผสานทั้งแบบภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ชนิดอุดกลั้น(OSA) และ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ชนิดสมองส่วนกลาง (CSA) ทำให้หยุดหายใจขณะหลับโดยอัตโนมัติ

ถ้ามีอาการเหล่านี้ ไม่ดีแน่ เช็คให้ชัวร์ อย่ารอช้า

  • นอนกรน เสียงดัง
  • คนใกล้ตัว ทักว่าคุณมีอาการหยุดหายใจขณะหลับ
  • หลับแล้วคอแห้ง ปากแห้ง
  • สะดุ้งเฮือกขณะหลับ
  • ง่วงตลอดวัน อ่อนเพลีย
  • ตื่นขึ้นมาด้วยความไม่สดชื่น

สาเหตุมีกี่ประเภท เกิดจากอะไรบ้าง เฝ้าระวังไว้ ห่างไกลโรค

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น Obstructive Apnea (OSA)

                สาเหตุมักจะเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อลำคอคลายตัว ซึ่งกล้ามเนื้อมีหน้าทีรองรับเพดานอ่อน (ลิ้นไก่)ต่อมทอนซิลลำคอและลิ้น ขณะคุณหลับกล้ามเนื้อภายในลำคอจะค่อยๆหดตัวลง และแคบลง จนกระทั่งเปิดกั้นทางเดินหายใจ เมื่อออกซิเจนในเลือดไหลเวียนกันได้น้อยลงแล้ว  สมองของคุณจะสั่งการว่าไม่สามารถหายใจได้ คุณจะถูกปลุกขึ้นมาโดยทันที เพื่อให้คุณหายใจได้อีกครั้ง อาการที่เกิดขึ้นมักจะเกิดในช่วงระยะเวลาสั้นๆ จนคุณจะจำไม่ได้ สามารถเกิดขึ้นได้ 5-30 ครั้ง หรือ มากกว่านั้นในแต่ละชั่วโมง อาจจะทำให้คุณรู้สึกหลับไม่เพียงพอได้

สาเหตุของภาวะการหยุดหายใจขนะหลับชนิดสมองส่วนกลาง Central sleep apnea (CSA)

  อาการประเภทนี้ เกิดจากภาวะสมองคุณไม่ส่งสัญญาณไปยังกล้ามเนื้อหายใจของคุณได้ คุณจะตื่นขึ้นพร้อมกับอาการหายใจถี่ แต่ภาวะอาการเช่นนี้จะเกิดขึ้นในกลุ่มปริมาณที่น้อยมาก คือประมาณ 0.4%

อุปกรณ์รักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

1. เครื่องช่วยการนอน แก้ไขการนอนกรน

ออกแบบมาเพื่อยกระดับคุณภาพการนอนให้กับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แบบ OSA ซึ่งต่างจากเครื่องช่วยหายใจ โดยการทำงานคือการสร้างแรงดันลมบริเวณเพดานอ่อนภายในปาก เพื่อให้ลิ้นเครื่องตัวมาด้านหน้า และสามารถกักเก็บน้ำลาย รวมถึงสามารถสร้างสูญญากาศที่อ่อนนุ่ม ผ่านการเป่าปาก

2. เครื่องมือทันตกรรมรักษาอาการนอนกรน (Oral Appliance)

    แก้ไขปัญหานอนกรนด้วยฟันยาง ถือเป็นวิธีแก้ไขที่ดีอีกวิธีหนึ่งสามารถใช้ได้ง่ายเพียงให้ผู้ป่วยสวมเครื่องมือในปากขณะนอนหลับ

3. เครื่องช่วยหายใจความดันลบ CPAP

เป็นวิธีการรักษาที่นิยมมากในหมู่การแพทย์ เพราะสามารถลดอาการนอนกรนได้จริง และตื่นเช้ามาด้วยความสดชื่นจากการได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอในขณะที่หลับอยู่

4. คลื่นความถี่วิทยุ RF

โดยวิธีดังกล่าวแพทย์จะติดตั้งเครื่องมือลักษณะพิเศษคล้ายเข็มไว้บริเวณโคนลิ้น ใช้คลื่นความถี่วิทยุในการรักษาเยื่อบุจมูกบวมหรืออักเสบ เพื่อแก้ไขอาการนอนกรน

5. การฝังพิลลาร์ (Pillar)

6. การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ (Myofunctional Therapy)

วิธีการนี้คือหลักการทางกายภาพบำบัด โดยแก้ไขตั้งแต่ต้นเหตุ เช่นการวางตำแหน่งลิ้นให้ถูกต้อง หรือฟื้นฟูกล้ามเนื้อบางจุดให้แข็งแรง เพื่อลดการหย่อนคล้อยของอวัยวะภายใน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาการอุดกั้นทางเดินหายใจ