1 ใน 3 ของชีวิตมนุษย์ทุกคน มีความจำเป็นในการพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับพักผ่อนในหนึ่งวันโดยเฉลี่ย คนเราควรนอน 7-8 ชั่วโมง ไม่ใช่เพียงแค่จำนวนชั่วโมงในการหลับเท่านั้น แต่คุณภาพของการหลับก็สำคัญเช่นกัน ยิ่งได้หลับสนิทที่สุด ในพื้นที่ที่เงียบสงบที่สุด การฟื้นฟู และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ก็จะยิ่งดีตามขึ้นไปด้วย

การนอนที่เพียงพอ จะทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง ฟื้นฟูพละกำลัง ช่วยให้ระบบต่างๆภายในร่างกายทำงานเป็นปกติ โดยเฉพาะในเรื่องการทำงานของฮอร์โมน  รวมถึงยังช่วยในแง่การเผาผลาญ ที่เกิดขึ้นชณะนอนหลับอีกด้วย แต่หากตรงกันข้าม การอดหลับอดนอน จะส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วยง่าย อ้วนง่าย สมรรถภาพทางเพศลดลง การทำงานของสมองและการตัดสินใจช้าลง โดยทางการแพทย์ ระบุไว้ว่าการอดนอน แบ่งได้ 2 ประเภท คือผู้ที่อดนอนระยะสั้น (นอนน้อยกว่า 3 ชั่วโมง ติดต่อกันน้อยกว่า 36 ชั่วโมง) และผู้ที่อดนอนเรื้อรัง (นอนน้อยกว่า 4 ชั่วโมง ติดต่อกันนานมากกว่า 36 ชั่วโมง) ซึ่งผู้ที่อดหลับอดนอนเป็น ระยะเวลายาวนาน จะมีประสิทธิภาพในการทำงานที่แย่ลง ตัดสินใจเชื่องช้า ความคิดอ่านไม่แม่นยำ ทำให้บางกิจกรรม อาทิ การขับรถ จะส่งผลอันตรายอย่างมาก เพราะจะมีอาการ เผลอสัปหงก หรือหลับไปเป็นระยะเวลาอันสั้นประมาณ 10-15 วินาที

 

โรคที่มากับการนอนน้อย หรือนอนไม่หลับ

  • โรคอ้วน นอนน้อยทำให้ระบบเจริญเติบโตแปรปรวน ทำให้อิ่มช้า และทำให้มีความอยากอาหารมากขึ้น
  • โรคเบาหวาน การนอนที่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับอินซูลินที่สูงขึ้น
  • โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง โรคดังกล่าวจะมีอาการนอนหลับยาก ใช้เวลามากกว่า 30 นาทีกว่าจะนอนได้ ตื่นบ่อย และอาการดังกล่าวจะมีระยะเวลามากกว่า 1 เดือนขึ้นไป

โรคหัวใจ เมื่อนอนไม่เพียงพอ ทำให้ความดันเลือดสูงมากผิดปกติ มีความเสี่ยงกับโรคหัวใจมากถึง 2 เท่า


 

โดยการนอนของแต่ละช่วงวัย มีความต้องการการนอน แตกต่างกัน เพราะตัวเลข 8 ชั่วโมงต่อวัน คือตัวเลขประมาณการโดยเฉลี่ยเท่านั้น  โดยเด็กแรกเกิดต้องการ การรนอน รวมๆแล้วประมาณ 16-18 ชั่วโมงต่อวัน , อายุ 5-7 ขวบ 9 ชั่วโมงต่อวัน ตั้งแต่ 20 ปี ถึง 65 ปี 7-8 ชั่วโมงต่อวัน และผู้สูงอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป จะนอนหลับน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน แต่จะมีอาการงีบหลับเป็ยช่วงๆ และถ้ามีอาการอดนอน จะฟื้นตัวได้ช้ากว่าวัยหนุ่มสาว

            การนอนหลับระหว่างวัน ตามกลไกฮอร์โมนร่างกายแล้ว ถ้านอนไม่ถูกเวลาจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี แพทย์แนะนำให้สามารถหลับ ช่วงกลางวันหรือตอนบ่ายนิดๆได้ประมาณ 15-20 นาที (Pawer Nap) เพื่อฟื้นฟูร่างกาย เพิ่มความสดชื่นระหว่างวัน แต่ไม่แนะนำให้หลับช่วงหัวค่ำ หรือ ช่วงเย็นๆ และช่วงที่ควรหลับนอนมากที่สุด คือช่วงเวลา 2 ทุ่ม จนถึงเวลา 4 ทุ่ม และหลับลึกประมาณ เวลา 5 ทุ่ม และไม่เกินเวลาตี 2

 

            สาเหตุของการนอนไม่หลับ มีมากมาย อาทิเช่น ความเครียด คิดมาก โรคบางอย่าง เช่นการนอนดิ้น นอนกรน หรือโรคลมชัก ฉะนั้น การจัดสรรพฤติกรรม วินัยการใช้ชีวิต จวบจน การทานอาหารและออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อยกระดับการหลับนอนที่มีคุณภาพได้

ที่มา : ข่าวจากกรมอนามัย
https://www.hfocus.org/content/2022/03/24640